กลับไปยังบล็อก

ประวัติของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ

     หมอสมหมาย เป็นคนสิงห์บุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่  27  ธันวาคม พ.ศ. 2464  ปัจจุบันอายุ 90 ปีแล้ว  คุณพ่อคุณแม่มีบุตรธิดารวม 7 คน โดยผมเป็นคนที่ 5 คุณพ่อคือนายกิมซิด  คุณแม่นางพิมเสน  ทองประเสริฐ  พี่ชายคนโตของผม ชื่อศาสตราจารย์พันตรีนายแพทย์ประจักษ์   ทองประเสริฐ  เป็นอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช พี่ชายคนที่สองชื่อนายหงวน  ทองประสริฐ  เป็นลูกศิษย์ท่านปรีดี  พนมยงค์ พี่สาวคนที่สามและที่สี่แต่งงานเป็นแม่บ้าน  ส่วนผมซึ่งเป็นบุตรคนที่ห้า  เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เด็ก พ.ศ.2471  ที่โรงเรียนประจำเซนต์ปีเตอร์  ซึ่งอยู่ตรงตึกซิงเกอร์ สี่-พระยาในปัจจุบัน  น้องสาวคนที่หกยังมีชีวิตอยู่ส่วนน้องชายคนที่เจ็ดเป็นนายทหาร  จบการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธ  ปัจจุบันมีพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่เพียงสามคน  คือพี่สาวคนที่สามอายุ 95 ปี ผมอายุ 90 ปีและน้องสาวอายุ 84 ปีนอกนั้นเสียชีวิตหมดแล้ว

ในวัยของการศึกษา

          ครอบครัวของผมสนับสนุนการศึกษาเฉพาะผู้ชายส่วนลูกผู้หญิงไม่ส่งเสียให้เล่าเรียน พี่ชายของผมนับว่าได้เป็นชาวสิงห์บุรีคนแรกที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ได้ทุนของร็อกกี้ เฟลเรอร์ ไปเรียนต่อที่ยอห์นฮอสปิตัส ประเทศอเมริกา  ส่วนผมสำเร็จเภสัชศาสตร์บัณฑิตสมัยเด็กศึกษาที่ ร.ร. เซนต์ปีเตอร์ ในปี พ.ศ. 2471 และจบ ม.5 ในปี พ.ศ. 2478 สมัยที่ผมเรียนนั้น การศึกษายังมีระดับชั้น ม. 8 อยู่ ไม่ได้มีเตรียมอุดมศึกษาเหมือนสมัยนี้ หลังจากจบชั้น ม.5 ร.ร. เซนต์ปีเตอร์ ก็มาศึกษาต่อที่ ร.ร. อำนวยศิลป์ ปากครองตลาดจนจบ ม.8 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้าย หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นเตรียมอุดมซึ่งคุณชอุ่ม  ปัญจพรรค์ เป็นนักเรียนเตรียมอุดมหมายเลข 1

จิตใต้สำนึก “ชีวิตคือ  ธรรมชาติ”

          อีกประการหนึ่ง ผมมีจิตสำนึกอยู่เสมอว่าในโลกนี้ธรรมชาติทำให้เกิดโลก แล้วธรรมชาติต้องมียาแก้โรคให้ด้วย เช่น การใช้ซิงโคน่า(Cinchona) รักษาโรคมาเลเรีย ใบดิจิตาลีส ( Digitalis) รักษาโรคหัวใจในสัตว์ เช่น แมว สุนัข ไม่สบายก็จะไปเที่ยวหาต้นหญ้ากิน พออาเจียนแล้วก็หาย นั่นคือการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ แต่มนุษย์เราโดยเฉพาะการแพทย์ทางตะวันตกไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ พยายามค้นคว้าไปทางเคมีเป็นส่วนมาก

         ผมเข้าศึกษาต่อที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยมีพี่ชายเป็นคนส่งเสียให้เล่าเรียน ผมสำเร็จคณะเภสัชศาสตร์ได้เหรียญทองและเป็นอาจารย์ที่เภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามกฎได้ 1 ปี ก็ออกมาศึกษาแพทย์ต่อที่ศิริราช สมัยนั้นหากจะเรียนแพทย์ต้องเรียนที่ศิริราชแห่งเดียวเท่านั้น ที่อื่นยังไม่มีการเรียนการสอน ในคณะเรียนผมก็ใช้ความรู้ทางเภสัชฯ ไปทำงานร้านขายยา เพื่อส่งเสียตัวเองเรียนแพทย์จนกระทั่งผมจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2494 ที่จริงแล้ว ผมคุ้นเคยกับโรงพยาบาลศิริราชมาตั้งแต่เด็กเนื่องจากตอนอายุเพียง 7-8 ปี เวลาเปิดเทอมผมก็จะมาอยู่กับพี่ชายที่ศิริราช ส่วนมากจะไปอยู่กับพวกพี่ๆพยาบาล เพราะพี่ชายต้องทำงาน สมัยเมื่อ พ.ศ. 2471 นั้น ศิริราชยังเป็นป่าอยู่เลยมีตึกเพียง 5 ตึก มีโรงกระโจมใช้ผ้าขึงเป็นห้องผ่าตัด

         สมัยเมื่อผมเรียนแพทย์ศิริราชอยู่ปี 3 ปี 4 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา และทำงานเป็นแพทย์ประจำบ้านแผนกศัลยกรรมอยู่ที่ศิริราชนั้นผมสนใจเรื่องการศึกษามะเร็งมากเพราะการศึกษาโรคอื่นๆ ทางศัยลกรรมสามารถรักษาให้หายได้ง่าย แต่การรักษามะเร็งนั้นยากมาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือฉายรังสีก็ดี

         เนื่องจากผมสำเร็จเภสัชศาสตร์บัณฑิตก่อนมาเรียนแพทย์  ผมจึงมีความคิดว่าน่าจะค้นคว้าหาสมุนไพรมาช่วยในการรักษามะเร็งบ้าง  แต่ในขณะนั้นผมเป็นลูกน้องไม่สามารถที่พูดเสนอความคิดได้

         เมื่อสำเร็จการศึกษาจากศิริราช  แล้วด้วยความที่เป็นคนชอบทดลอง  ผมมาอยู่สถานเสาวภา  1 ปี  ก็อยากทดลองเรื่องวัคซีนกับเซรุ่มในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า  พอครบปีก็กลับมาเป็นศัลยแพทย์ที่ศิริราช  เป็นศัลยแพทย์ได้สองปี  สมัยนั้นไม่มีตำแหน่งให้ต้องเป็นลูกจ้าง  ผมเป็นลูกจ้างรับเงินเดือน เดือนละ 700 บาท  ( สมัยนั้นทองบาทละ 60บาท )

หลังจากจบการศึกษาแพทย์

         หลังจากจบการศึกษา  ผมตั้งใจว่าจะกลับไปอยู่สิงห์บุรีเพราะแม่ของผมอยู่ที่นั้นตามลำพัง  แม่ก็อายุมากแล้วไม่มีใครคอยดูแล  เนื่องจากพ่อเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478  ดังนั้นเมื่อผมทำงานที่ศิริราชครบ  2  ปี   อีกทั้งตัวเองอยากได้ตำแหน่งประจำเพราะสมัยนั้นหาตำแหน่งประจำอยากเหลือเกิน  มีตำแหน่งประจำก็เป็นแผนกกระดูกซึ่งผมไม่ต้องการ

         วันหนึ่งขณะผมเดินทางกลับจากศิริราช  ผมได้พบกับรุ่นพี่ที่ท่าน้ำ  ชื่อหมออุทัย  ศรีอรุณ ( ภายหลังได้รับตำแหน่งพลตำรวจโทและเป็นจเรตำรวจ )  เขาถามว่าผมจะไปไหน  ผมก็บอกว่าผมจะกลับไปเอาตำแหน่งหมอกระดูกที่ศิริราช  เขาจึงออกปากว่าอยากให้ผมไปช่วยที่โรงพยาบาลตำรวจ  ถ้าวันนั้นผมกลับไปเป็นหมอกระดูกที่ศิริราช  ผมคงเกษียณอายุแค่ 60 ปี  ไม่ได้มาเป็นหมอรักษามะเร็งในปัจจุบันนี้

หมอสมหมาย ผู้เริ่มต้นโรงพยาบาลตำรวจ

         เมื่อไปถึงโรงพยาบาลตำรวจ  ผมจึงได้พบว่าที่นั้นไม่มีความพร้อมอะไรเลย  ผมต้องจัดเตรียมบรรดาเครื่องไม้ เครื่องมือ จนสามารถผ่าตัดคนไข้ได้เอง  สมัยนั้นโรงพยาบาลตำรวจเป็นเพียงโรงพยาบาลในแผนกตำรวจ  ผมทำงานจนกระทั้งได้ติดยศเป็นร้อยตำรวจเอกก็ได้ทราบข่าวว่าสิงห์บุรี  กำลังสร้างโรงพยาบาล ผมจึงบอกหัวหน้าแผนกว่าจะขอย้ายไปโรงพยาบาลสิงห์บุรี  หากโรงพยาบาลสิงห์บุรีสร้างเสร็จ หัวหน้าผมไม่อนุญาต ท่านบอกว่า “ลื้อมาอยู่ที่นี่ไม่กี่เดือน สร้างความเจริญให้กับโรงพยาบาลตำรวจ ได้ผ่าตัดได้ ทำอะไรมากมาย ไม่อนุญาตให้ไปหรอก” เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น  แต่ความต้องการที่จะอยากกลับไปทำงานที่โรงพยาบาลบ้านเกิดมากกว่าในเดือนธันวาคมของปีนั้นผมจึงเขียนจดหมายลาออกทิ้งไว้แล้วจากไปอยู่ที่สิงห์บุรีโดยไม่ได้ร่ำลาผู้ใด

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

     "มะเร็งต่อมน้ำเหลือง"

     คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ของต่อมน้ำเหลืองโดยตรง ส่วนมะเร็งที่ลุกลามจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตได้ แต่ไม่เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จะเรียกตามมะเร็งที่อวัยวะนั้นแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง

 

สาเหตุ :

     ความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายคนเรานั้นเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ร่างกายจะมีกระบวนการจัดการความผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ถ้าวันใดเกิดจิตตก เครียด วิตกกังวล ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้กลไกทางภูมิคุ้มกันลดลง

 

อาการ :

     ส่วนใหญ่ก้อนเนื้อจะขึ้นบริเวณ ไหลปลาร้า คอ ขาหนีบ รักแร้ คอ ขาหนีบ ก้อนเนื้อจะสามารถงอกได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ผู้ป่วยบางรายเป็นไข้ตลอด มีไข้สูงนานเป็นเดือน

 

การตรวจวินิจฉัย :

     โดยตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ดูลักษณะของเซลล์มะเร็ง ย้อมพิเศษตรวจแยกชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง บางครั้งอาจต้องตรวจเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน หรือตรวจดีเอนเอ
เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองการตรวจขั้นต่อไปคือ การตรวจหาระยะของโรค นิยมตรวจด้วยการเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของปอดและช่องท้อง
ในปัจจุบันนี้การตรวจเพ็ทสแกน และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์มีความไว และการจำเพาะในการตรวจรอยโรค และระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ดีกว่าเอ็กซเรย์ทั่วไป แต่มีราคาสูงกว่า

 

ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง :

     - มะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระจายมาคอ
     - มะเร็งกระจายมาต่อมน้ำเหลืองบริเวณไหลปลาร้า
     - มะเร็งต่อมน้ำเหลืองกระจายมาจากต่อมทอนซิล
    - มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเต้านม

 

วิธีการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน :

     รังสีรักษา ; การฉายแสงรังสีรักษาสามารถควบคุมมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ดี ทำให้ก้อนมะเร็งยุบได้อย่างรวดเร็ว


     ยาเคมีบำบัด ; มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน ยาที่นิยมใช้คือสูตรยาช้อป (CHOP) ซึ่งย่อมมาจาก ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ ยาเอเดรียมัยซิน ยาออนโควินหรือวินคริสตีน ยาเพร็ดนิโซโลน


    ยาสเตียรอยด์ ; มะเร็งต่อมน้ำเหลืองตอบสนองดีต่อยาสะเตียรอยด์ แต่จะได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด


     การเปลี่ยนไขกระดูก ; การให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับการเปลี่ยนไขกระดูก หรือปลูกถ่ายเซลล์ตัวอ่อนของไขกระดูก ทำให้การตอบสนองต่อยาดีขึ้น

 

การรักษาตามเป้าหมาย :

     ยาแอนติบอดีต่อซีดี 30 ที่ผิวเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ จัดเป็นยาที่รักษาตามเป้าหมาย สามารถใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดบีเซลล์ได้ผลดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ดื้อยาเคมีบำบัดหรือโรคเป็นซ้ำ ชื่อยาเรทูซิแม็พ
ยาแอนติบอดีติดฉลากสารกัมมันตรังสี ให้การตอบสนองสูงถึงร้อยละ 50-80 เช่น ยาแอนติบอดีต่อซีดี 20 ที่ผิวเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสียิบเทรียม 90 ชื่อยา ไอบริทูโมแม็พ เป็นต้น
     อิมมูนบำบัด : ยาอินเตอเฟียรอนอัลฟ่า ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้โดยเฉพาะชนิดโฟลิคูลาร์
     ยาเคมีบำบัดชนิดทา : มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเกิดที่ผิวหนังได้เรียกว่า โรคลิมโฟมาคิวทิส สามารถรักษาด้วยการฉายแสงรังสีอิเล็คตรอนที่ผิวหนัง รักษาด้วยยาเคมี

**มะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษายากมาก ยุบๆ โผล่ๆ ส่วนใหญ่รักษาโดยยาเคมี ซึ่งมีราคาแพง**

มะเร็งปอด

     เป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย อันดับ 4 ในเพศหญิง ตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยากเพราะอาการจะไม่ปรากฏ คนที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแลรักษา และ ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง

 

สาเหตุ :

     อาจะมาจากสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ามาก ฯลฯ

 

อาการ :

     บางคนมีอาการไอต่อเนื่องกันหลายอาทิตย์ บางครั้งไอโดยมีโลหิตออกมา บางคนเหนื่อย หอบ แน่นหน้าอก (เนื่องจากน้ำท่วมปอด) เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

 

การตรวจวินิจฉัย :

     - การซักประวัติ พฤติกรรมเสี่ยงและประวัติความครัว
     - เอกซเรย์ปอด (ภาพ x-ray) ดูตำแหน่งของก้อนในปอดว่าอยู่หน้าหรือหลัง
     - การส่องกล้องดูหลอดลม (bronchoscopy) วิธีนี้สามารถเข้าไปได้ลึกจนถึงหลอดลมแขนงย่อย ทำให้นอกจากจะเห็นลักษณะของหลอดลมแล้ว ยังสามารถตัดชิ้นเนื้อในหลอดลมและเนื้อปอดนอกหลอดลม (transbronchial biopsy) ไปส่งตรวจ
     - การตัดชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลืองไปส่งตรวจทางพยาธิ
     - การทำสแกน (SCAN)
     - การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะก้อน
     - การผ่าตัดเปิดทรวงอก
เป็นวิธีสุดท้ายในการวิเคราะห์โรค และเป็นการรักษาไปด้วยถ้าผู้ป่วยเป็นเนื้องอก

 

ลักษะของผู้ป่วยแต่ละราย :

     -มะเร็งปอด (มีต้นตอที่ปอด) กระจายไปในปอด
     -อาจลามไปที่กระดูก
     -น้ำท่วมปอดลามไปเยื่อหัวใจ
     -อาจจะเป็นมะเร็งเต้านม มดลูก ลำไส้ใหญ่ ลามมาปอดก็ได้
     -อาจจะเป็นจุดที่ปอดข้างใดข้างหนึ่ง หรือกระจายไปอีกข้างก็ได้

 

วิธีการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน :

- ผ่าตัด (surgery)
     ถ้าเป็นก้อนเนื้อหรือจุดที่ไม่ใช่ตรงกลางปอด สามารถผ่าตัด (surgery) จนตัดมะเร็งออกได้หมด และปอดที่เหลืออยู่ยังเพียงพอสำหรับการหายใจ ขนาดของปอดที่ตัดออกขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของมะเร็ง ถ้าคุณหมอวินิจฉัยว่าผ่าตัดได้ (โอกาสรอดหรือยืดอายุได้มากกว่าผู้ที่ไม่ตัด)


- รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiation therapy)
      ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ผ่าตัดไม่ได้ และในรายที่ผ่าตัดแล้วแต่ตัดมะเร็งออกไม่หมดหรือคาดว่ามะเร็งจะงอกขึ้นมาอีก การฉายรังสียังมีประโยชน์สำหรับการบรรเทาอาการ เช่น เมื่อมีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำใหญ่ มีอาการปวดกระดูกหรืออาการทางสมอง

     ปัจจุบันการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด เช่น การฉายรังสีแบบ 3 มิติ, เทคนิคการใช้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด, Fractionation, Radiation modifiers เป็นต้น

- เคมีบำบัด ( Chemotherapy)
     มีบทบาทสำคัญในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันนิยมใช้ยาหลายตัวสลับกันเป็นระยะ (cyclical treatment) เพราะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว ผลการรักษามักจะดีในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายสมบูรณ์ และมีมะเร็งในร่างกายน้อย ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง

*หากน้ำท่วมปอด (อาจจะต้องเจาะน้ำออก) ฝังท่อให้น้ำไหลออกได้


มะเร็งเต้านม

"มะเร็งเต้านม (Breast cancer)"

     เป็นโรคมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับการมีระดับเอสโตรเจนในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1-2 ของโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง จะเริ่มพบได้ตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไป และจะพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนมากจะพบในหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ปัจจุบันมะเร็งนมพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุน้อย (ก้อนเนื้อที่เต้านมไม่ใช่เป็นมะเร็งทั้งหมด อาจจะเป็นถุงน้ำ หรือเยื่อก็ได้)

 

สาเหตุ :

     - อายุที่มากขึ้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
     - เคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสต์เต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (Atypia)
     - พันธุกรรม มีประวัติว่าคนในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ (มารดาหรือพี่น้องท้องเดียวกัน) จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้สูงกว่า (ถ้ามีญาติเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ยิ่งมากคนก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น)
     - มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมะเร็งรังไข่มีความเกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้
     - มีโรคก้อนเนื้อบางชนิดของเต้านม
     - การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
     - การเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากพบโรคนี้ได้สูงขึ้นในหญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
     - การมีภาวะหมดประจำเดือนช้า หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
     - การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดตั้งแต่อายุยังน้อยและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน (เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ก่อนวัยหมดประจำเดือน)

 

อาการ :

     ในระยะแรกมักมีอาการไม่ชัดเจน ต่อมาผู้ป่วยจะคลำได้ก้อนที่เต้านม (มักเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ส่วนโอกาสที่จะเกิดทั้งสองข้างมีเพียง 5%) ก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะมีลักษณะแข็งและขรุขระ แต่อาจจะเป็นก้อนเรียบ ๆ ก็ได้ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด แต่จะมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่มีอาการปวดเต้านม (ในกรณีที่ก้อนใหญ่ก็สามารถแตกออกมาได้)
ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้แก่ หัวนมบุ๋ม (จากเดิมที่ปกติ)



วิธีการตรวจโดยแพทย์แผนปัจจุบัน :

     -การตรวจภาพรังสีเต้านม (Mammogram – แมมโมแกรม)
     -อัลตราซาวด์
*แต่ที่จะให้ผลแน่นอนที่สุดคือ การเจาะ ดูดเซลล์ หรือตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

 

ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแต่ละราย :

     - มะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้รับการรักษา
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้วงอกใหม่ที่เดิม
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้วงอกใหม่ที่เดิมแล้วลามไปอีกข้างหนึ่ง
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้ว รับยาเคมีครบคอร์ส แต่มะเร็งก็งอกใหม่
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้ว ฉายแสงและคีโมแล้ว แต่ก็งอกใหม่
     - มะเร็งเต้านมเน่าจนแตก

 

การกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ :

     - เป็นแผลที่จุดเดิม เล็กๆ
     - เป็นก้อนเนื้อบริเวณไหปลาร้า
     - เป็นก้อนเนื้อบริเวณรักแร้
     - เซลล์มะเร็งได้ลามเข้าปอด ตับ หรือกระดูก (การบ่งบอกถึงมะเร็งระยะลุกลามแล้ว)

 

การรักษาโดยใช้แผนปัจจุบัน :

     - ให้ยาเคมี คีโม
     - ฉายแสง
     - เลาะก้อนเนื้อหรือตัดเต้านม
     - มะเร็งเต้านมที่รักษาด้วย ยา Hercerptin (ยาช่วยให้ลดการเกิดซ้ำของเซลล์มะเร็ง ในกรณีมี ER (ฮอร์โมนเพศหญิง) PR (ฮอร์โมนเพศชาย) Her-2 (ยีนมะเร็งเต้านม) เป็นบวก )

 

ด้วยประสบการณ์ของคุณหมอสมหมาย :

     1. การทานยาสมุนไพร G-HERB ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่รักษาก้อนเนื้อให้ยุบลง (เพราะถูกทดลองมาแล้วว่าสามารถสร้างเซลล์ต่อต้านมะเร็งและควบคุมการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งได้)


     2. ถ้าก้อนเนื้อยุบแล้วก็จะพิจารณาว่าควรตัดหรือเลาะเนื้อออกหรือเปล่า ถ้าพิจารณาแล้วว่ามะเร็งกระจายไปส่วนอื่นแล้วก็ควรจะตัดทิ้ง เช่น รักแร้ ฯลฯ เพื่อไม่ให้ลามไปส่วนอื่น


      3. จะต้องอัลตราซาวด์ดูอีกครั้งว่ามีก้อนเนื้อร้ายขึ้นใหม่อีกหรือเปล่า ถ้ามีควรจะทาน G-HERB ให้ก้อนเนื้อยุบเสียก่อน ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งก็ได้

***สิ่งที่คุณหมอสมหมายค้นพบ คือ การรักษาแบบแผนปัจจุบันควบคู่กับการทาน จีเฮิร์บ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยหลายต่อหลายรายสามารถมีชีวิตรอดมาได้ 

(ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)