กลับไปยังบล็อก

มะเร็งเต้านม

"มะเร็งเต้านม (Breast cancer)"

     เป็นโรคมะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับการมีระดับเอสโตรเจนในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 1-2 ของโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง จะเริ่มพบได้ตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไป และจะพบได้มากขึ้นตามอายุ ส่วนมากจะพบในหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ปัจจุบันมะเร็งนมพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุน้อย (ก้อนเนื้อที่เต้านมไม่ใช่เป็นมะเร็งทั้งหมด อาจจะเป็นถุงน้ำ หรือเยื่อก็ได้)

 

สาเหตุ :

     - อายุที่มากขึ้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
     - เคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสต์เต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (Atypia)
     - พันธุกรรม มีประวัติว่าคนในครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ (มารดาหรือพี่น้องท้องเดียวกัน) จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้สูงกว่า (ถ้ามีญาติเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ยิ่งมากคนก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น)
     - มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมะเร็งรังไข่มีความเกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้
     - มีโรคก้อนเนื้อบางชนิดของเต้านม
     - การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
     - การเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย เนื่องจากพบโรคนี้ได้สูงขึ้นในหญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
     - การมีภาวะหมดประจำเดือนช้า หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
     - การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดตั้งแต่อายุยังน้อยและใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน (เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ก่อนวัยหมดประจำเดือน)

 

อาการ :

     ในระยะแรกมักมีอาการไม่ชัดเจน ต่อมาผู้ป่วยจะคลำได้ก้อนที่เต้านม (มักเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ส่วนโอกาสที่จะเกิดทั้งสองข้างมีเพียง 5%) ก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะมีลักษณะแข็งและขรุขระ แต่อาจจะเป็นก้อนเรียบ ๆ ก็ได้ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด แต่จะมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่มีอาการปวดเต้านม (ในกรณีที่ก้อนใหญ่ก็สามารถแตกออกมาได้)
ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้แก่ หัวนมบุ๋ม (จากเดิมที่ปกติ)



วิธีการตรวจโดยแพทย์แผนปัจจุบัน :

     -การตรวจภาพรังสีเต้านม (Mammogram – แมมโมแกรม)
     -อัลตราซาวด์
*แต่ที่จะให้ผลแน่นอนที่สุดคือ การเจาะ ดูดเซลล์ หรือตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

 

ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแต่ละราย :

     - มะเร็งเต้านมที่ยังไม่ได้รับการรักษา
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้วงอกใหม่ที่เดิม
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้วงอกใหม่ที่เดิมแล้วลามไปอีกข้างหนึ่ง
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้ว รับยาเคมีครบคอร์ส แต่มะเร็งก็งอกใหม่
     - มะเร็งเต้านมผ่าตัดแล้ว ฉายแสงและคีโมแล้ว แต่ก็งอกใหม่
     - มะเร็งเต้านมเน่าจนแตก

 

การกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่นๆ :

     - เป็นแผลที่จุดเดิม เล็กๆ
     - เป็นก้อนเนื้อบริเวณไหปลาร้า
     - เป็นก้อนเนื้อบริเวณรักแร้
     - เซลล์มะเร็งได้ลามเข้าปอด ตับ หรือกระดูก (การบ่งบอกถึงมะเร็งระยะลุกลามแล้ว)

 

การรักษาโดยใช้แผนปัจจุบัน :

     - ให้ยาเคมี คีโม
     - ฉายแสง
     - เลาะก้อนเนื้อหรือตัดเต้านม
     - มะเร็งเต้านมที่รักษาด้วย ยา Hercerptin (ยาช่วยให้ลดการเกิดซ้ำของเซลล์มะเร็ง ในกรณีมี ER (ฮอร์โมนเพศหญิง) PR (ฮอร์โมนเพศชาย) Her-2 (ยีนมะเร็งเต้านม) เป็นบวก )

 

ด้วยประสบการณ์ของคุณหมอสมหมาย :

     1. การทานยาสมุนไพร G-HERB ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่รักษาก้อนเนื้อให้ยุบลง (เพราะถูกทดลองมาแล้วว่าสามารถสร้างเซลล์ต่อต้านมะเร็งและควบคุมการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งได้)


     2. ถ้าก้อนเนื้อยุบแล้วก็จะพิจารณาว่าควรตัดหรือเลาะเนื้อออกหรือเปล่า ถ้าพิจารณาแล้วว่ามะเร็งกระจายไปส่วนอื่นแล้วก็ควรจะตัดทิ้ง เช่น รักแร้ ฯลฯ เพื่อไม่ให้ลามไปส่วนอื่น


      3. จะต้องอัลตราซาวด์ดูอีกครั้งว่ามีก้อนเนื้อร้ายขึ้นใหม่อีกหรือเปล่า ถ้ามีควรจะทาน G-HERB ให้ก้อนเนื้อยุบเสียก่อน ในบางกรณีอาจจะไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งก็ได้

***สิ่งที่คุณหมอสมหมายค้นพบ คือ การรักษาแบบแผนปัจจุบันควบคู่กับการทาน จีเฮิร์บ วิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยหลายต่อหลายรายสามารถมีชีวิตรอดมาได้ 

(ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล)