เป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย อันดับ 4 ในเพศหญิง ตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยากเพราะอาการจะไม่ปรากฏ คนที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าระยะใดก็มีหนทางในการดูแลรักษา และ ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง
สาเหตุ :
อาจะมาจากสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้ามาก ฯลฯ
อาการ :
บางคนมีอาการไอต่อเนื่องกันหลายอาทิตย์ บางครั้งไอโดยมีโลหิตออกมา บางคนเหนื่อย หอบ แน่นหน้าอก (เนื่องจากน้ำท่วมปอด) เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การตรวจวินิจฉัย :
- การซักประวัติ พฤติกรรมเสี่ยงและประวัติความครัว
- เอกซเรย์ปอด (ภาพ x-ray) ดูตำแหน่งของก้อนในปอดว่าอยู่หน้าหรือหลัง
- การส่องกล้องดูหลอดลม (bronchoscopy) วิธีนี้สามารถเข้าไปได้ลึกจนถึงหลอดลมแขนงย่อย ทำให้นอกจากจะเห็นลักษณะของหลอดลมแล้ว ยังสามารถตัดชิ้นเนื้อในหลอดลมและเนื้อปอดนอกหลอดลม (transbronchial biopsy) ไปส่งตรวจ
- การตัดชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลืองไปส่งตรวจทางพยาธิ
- การทำสแกน (SCAN)
- การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะก้อน
- การผ่าตัดเปิดทรวงอก
เป็นวิธีสุดท้ายในการวิเคราะห์โรค และเป็นการรักษาไปด้วยถ้าผู้ป่วยเป็นเนื้องอก
ลักษะของผู้ป่วยแต่ละราย :
-มะเร็งปอด (มีต้นตอที่ปอด) กระจายไปในปอด
-อาจลามไปที่กระดูก
-น้ำท่วมปอดลามไปเยื่อหัวใจ
-อาจจะเป็นมะเร็งเต้านม มดลูก ลำไส้ใหญ่ ลามมาปอดก็ได้
-อาจจะเป็นจุดที่ปอดข้างใดข้างหนึ่ง หรือกระจายไปอีกข้างก็ได้